เปิดรายงานปัญหาละเมิดสิทธิพนักงานบริการ
เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๒ มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์เปิดรายงาน ผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ‘ยกที่หนึ่ง ชัยชนะสิทธิพนักงานบริการ’ ที่โรงแรมฮิพ รัชดา โดยมีผู้ร่วมเสวนาคือ อังคณา นีละไพจิตร อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ชัชลาวัณย์ เมืองจันทร์ เจ้าหน้าที่มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ ไหม จันตา ตัวแทนพนักงานบริการ นัยนา สุพาพึ่ง มูลนิธิธีรนาถ อุษา เลิศศรีสันทัด มูลนิธิผู้หญิง และศิริศักดิ์ ไชยเทศ นักกิจกรรมอิสระด้านสิทธิมนุษยชน ที่เสวนาเปิดปัญหาละเมิดสิทธิพนักงานบริการตั้งแต่จับกุม กักตัว และตีตราในหนังสือเดินทาง พบการล่อซื้อ-รูปหลุด ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เสนอยกเลิก พ.ร.บ.ปราบปรามค้าประเวณี เขียนใหม่ในเชิงคุ้มครอง ยกตัวอย่างเชียงใหม่โมเดลสร้างความเข้าใจระหว่างเจ้าของสถานบริการ พนักงานบริการ และเจ้าหน้าที่รัฐ ด้าน จนท. ตำรวจชี้ ‘ตำรวจเป็นเหมือนแพะของการบริหารงานที่ล้มเหลวของรัฐบาล’
มารู้จัก Smile-lay Club สโมสรเพื่อเด็กเคลื่อนย้ายในแม่สอด


Smile-Lay ภาษาพม่าอ่านว่า สมาย-เล เป็นศัพท์แสลงภาษาพม่า แปลว่า ยิ้มแย้ม เด็กๆชาวพม่ามุสลิมในแม่สอดได้ช่วยกันตั้งชื่อนี้เพื่อสะท้อนถึงความรู้สึกของพวกเขาเวลามาร่วมกิจกรรมที่สโมสรเพื่อเด็กเคลื่อนย้ายแห่งนี้
Smile-lay Club เกิดขึ้นจากประสบการณ์การทำงานของมูลนิธิผู้หญิงเพื่อช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว หรือถูกล่วงเกินทางเพศโดยร่วมมือกับผู้นำ ผู้หญิง และเด็กในชุมชนพม่ามุสลิม 3 แห่งในอำเภอแม่สอดเป็นระยะเวลากว่า 5 ปี ในด้านการป้องกันปัญหาความรุนแรงทางเพศ มูลนิธิผู้หญิงพบว่าเมื่อผู้นำชุมชนและคนในชุมชนรวมทั้งเด็กๆมีความรู้ความเข้าใจว่าความรุนแรงต่อผู้หญิงคืออะไร พวกเค้าจะเกิดความเห็นอกเห็นใจผู้ที่ประสบปัญหาความรุนแรงและพยายามช่วยเหลือ ผู้ใหญ่พยายามช่วยให้เด็กๆปลอดภัยจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือ ถูกทำร้าย ส่วนเด็กๆเมื่อเริ่มรู้จักรูปแบบต่างๆของการล่วงเกินทางเพศเด็กจะสามารถเริ่มป้องกันตนเองในเบื้องต้นได้ Read More »
เวทีผู้หญิงพบพรรคการเมือง: ความมั่นคงในชีวิตของผู้หญิงจะเกิดได้ ความเสมอภาคหญิงชายต้องเป็นวาระแห่งชาติ
เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ณ ห้องประกายเพชร โรงแรมเอเชีย เวลา ๙.๓๐ – ๑๒.๓๐ น. เครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าหน้าและสันติภาพร่วมกับ ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย จัดเวทีผู้หญิงพบพรรคการเมือง “รัฐกับการสร้างความมั่นคงในชีวิตของผู้หญิง วันนี้และวันหน้า” ผู้แทนพรรคการเมืองประกอบด้วย คุณอภิรัต ศิรินาวิน พรรคมหาชน คุณพรรณิการ์ วานิช พรรคอนาคตใหม่ นายต่วนอิสกันดาร์ ดาโต๊ะมูลียอ พราคประชาชาติ ดร.รัชดา ธนาดิเรก พรรคประชาธิปัตย์ คุณทัศน์ลักษณ์ ปัตตพงศ์ภัช พรรคชาติไทยพัฒนา คุณเอกวัฒน์ พิมพ์สวรรค์ พรรคสามัญชน ดำเนินรายการโดย ดร.ปิ่นหทัย หนูนวล กรรมการมูลนิธิผู้หญิง
ผู้แทนพรรคการเมืองขานรับข้อเสนอจากเครือข่ายผู้หญิงให้ความเสมอภาคหญิงชายเป็นวาระแห่งชาติ และจะนำข้อเสนอต่างๆ ไปเสนอต่อทางพรรค รวมถึงการผลักดันให้มีหน่วยงานอิสระหรือองค์กรมหาชนกำกับดูแลให้เกิดการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงสร้างความมั่นคงชีวิตของผู้หญิง ทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความเสมอภาคระหว่างเพศ ปรับเปลี่ยนทิศทางของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เป็นเครื่องมือพัฒนาศักยภาพ ปรับเปลี่ยนเจตคติและคุ้มครองสตรี ให้การศึกษาด้านความเสมอภาคและบทบาทของสื่อมวลชน Read More »
เร่งแก้ปัญหาการแต่งงานในวัยเด็ก ยืนยันสิทธิเด็กและต้องมีมาตรการปฏิบัติสำหรับผู้นำศาสนา
เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2561 มูลนิธิผู้หญิงร่วมกับ เครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพ จัดเสวนาเรื่อง การแต่งงานกับเด็ก จุดยืนทางศาสนา ช่องว่างทางกฎหมาย กับสิทธิเด็กหญิง ที่โรงแรมวิคทรี กรุงเทพมหานคร การเสวนาเริ่มโดยอุษา เลิศศรีสันทัด ผู้อำนวยการมูลนิธิผู้หญิงเกริ่นนำ ว่าการแต่งงานในวัยเด็กเป็นเรื่องที่สังคมไทยไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก แต่หลังจากที่ปรากฎข่าวกรณีเด็กหญิงไทยวัย 11 ปี สมรสกับชายชาวมาเลเซียวัย 41 ปี ทางเครือข่ายผู้หญิงได้พูดคุยและติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ซึ่งกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นมีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจทั้งในแง่ของหลักการศาสนา ข้อกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนของเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่ประเทศไทยได้ลงนามเป็นรัฐภาคี รวมไปถึงอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 5 เรื่องความเสมอภาคระหว่างเพศ และเสริมสร้างพลังให้แก่สตรีและเด็กหญิง ดังนั้นแม้เรื่องนี้จะเกิดขึ้นกับเด็กหญิงมุสลิม อายุ 11 ปี แต่ก็มีความจำเป็นที่เราจะแสวงหาแนวทางร่วมกันในการป้องกันแก้ไขปัญหาโดยเราจะไม่ทอดทิ้งเด็กคนใดคนหนึ่งให้ต้องเผชิญกับปัญหานี้ Read More »
งานเปิดตัวหนังสือ “เรือชีวิต” หนังสืออ่านสำหรับเด็กเพื่อป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2561 มูลนิธิผู้หญิงได้จัดงานเปิดตัวหนังสือ “เรือชีวิต” หนังสืออ่านสำหรับเด็กเพื่อป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ณ โรงแรมอีโค่ อินน์ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยการสนับสนุนจากองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) และสหภาพยุโรป (EU)
โดยงานนี้เริ่มจากที่ คุณดาราราย รักษาสิริพงศ์ ผู้ประสานงานโครงการ มูลนิธิผุ้หญิง กล่าววัตถุประสงค์ของการจัดงานเปิดตัวหนังสือ “เรือชีวิต” ซึ่งจัดขึ้นเพื่อ 1) นำเสนอหนังสือ “เรือชีวิต” หนังสืออ่านสำหรับเด็กเพื่อป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศ 2)เสวนาแลกเปลี่ยนบทบาทของชุมชนในการป้องกันเด็กจากความรุนแรงทางเพศพร้อมกับรับฟังเสียงของเด็กผู้หญิงในชุมชน ต่อมาตัวแทนแกนนำเด็กหญิงพม่ามุสลิมกล่าวความรู้สึกและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน ในช่วงพิธีเปิดได้รับเกียรติจาก คุณถิรยุทธ ฉันติกุล รองนายกเทศมนตรี เทศบาลนครแม่สอด เป็นประธานกล่าวเปิดงาน
แถลงการณ์ร่วม เครือข่ายผู้หญิงและผู้หญิงเพศหลากหลายในประเทศไทยที่ติดตามการปฏิบัติตาม อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
ในนามเครือข่ายผู้หญิงและผู้หญิงเพศหลากหลายในประเทศไทยที่ติดตามการปฏิบัติตาม อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention for the Elimination of All Forms of Discrimination against Women – CEDAW) ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยนำข้อแสนอแนะที่คณะกรรมการแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี หรือ คณะกรรมการฯ (UN Committee on Eliminations of Discriminations against Women) รับรองมาปฏิบัติให้สัมฤทธิ์ผล
ข้อเสนอแนะต่อร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว
ตามที่กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว พ.ศ…. เพื่อใช้แทนพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยระบุถึงปัญหาและอุปสรรคจากการที่ไม่มีกระบวนการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวตามหลัก Family Life Cycle เครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพ และเครือข่ายองค์กรที่ทำงานป้องกันแก้ไขความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก ประกอบด้วย สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม มูลนิธิพิทักษ์สตรีและเด็ก สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย และมูลนิธิผู้หญิง จึงได้ร่วมกับ สาขาวิชาโทการพัฒนาเด็กเยาวชนและครอบครัว คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรวบรวมข้อเสนอแนะต่อร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ โดยมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้
วงเสวนาเสนอเร่งแก้ไขกฎหมายความรุนแรงในครอบครัวไม่ให้ไกล่เกลี่ย
เมื่อวั
นที่ 26 ธันวาคม 2559 เวลา 13.00 – 16.30 น. มูลนิธิผู้หญิง ร่วมกับ คณะอนุกรรมการด้านสิทธิสตรี คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สาขาวิชาโทการพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม และคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนาสังคมแผนกสตรี สภาประมุขบาทหลวงคาทอลิกแห่งประเทศไทย จัดเสวนาเรื่อง การรักษาสถาบันครอบครัว กับสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรง ณ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สืบเนื่องจากข่าวความรุนแรงในครอบครัวอยู่ในกระแสเป็นที่น่าสนใจ โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาจากหลากหลายหน่วยงาน งานนี้ได้รับเกียรติจาก รศ. ดร. โกวิทย์ พวงงาม คณะบดีคณะสังคมสงเคราะห์ มธ. กล่าวเปิดงานในฐานะเจ้าบ้าน
รายงานการประชุม สรุปบทเรียนคดีหญิงฆ่าสามีอันเกิดจากการถูกกระทำความรุนแรง
มูลนิธิได้จัดการประชุมนำเสนอผลการศึกษาเปรียบเทียบกรณีหญิงต้องคดีฆ่าสามีจำนวน ๓ คดี พร้อมข้อเสนอแนะต่อกระบวนการยุติธรรมในคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับความรุนแรงในครอบครัว เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๘ ณ สภาคริสตจักรในประเทศไทย สะพานหัวช้าง สนับสนุนโดย UN WOMEN โดยมีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงช่องทางความเป็นไปได้ของข้อเสนอแนะ ดังมีรายละเอียดพอสรุปได้ ดังนี้ Read More »
สรุปการศึกษาเปรียบเทียบ กรณีหญิงถูกดำเนินคดีฆ่าสามี และ ข้อเสนอแนะด้านกระบวนการยุติธรรม
จากประสบการณ์ของมูลนิธิผู้หญิงในการให้ความช่วยเหลือแก่หญิงที่ถูกดำเนินคดีในข้อหาเจตนาฆ่าสืบเนื่องจากความรุนแรงในครอบครัว พบว่าส่วนใหญ่ผู้หญิงต้องถูกพิพากษาลงโทษจำคุก ๗-๘ ปี ข้อเท็จจริงที่ได้จากการสัมภาษณ์พบว่าหญิงเหล่านี้มีประวัติเผชิญกับความรุนแรงในครอบครัวมาเป็นเวลานาน จนเกิดอาการที่เป็นผลกระทบสั่งสมจากการถูกกระทำความรุนแรงจากสามีหรือคนรัก และต้องดำเนินชีวิตด้วยความหวาดกลัว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนทำให้สามีเสียชีวิตเมื่อผู้หญิงสู้กลับเพื่อตอบโต้กับความรุนแรง หรือเพื่อป้องกันมิให้สามีมาทำร้ายตน แต่มิได้มีเจตนาทำให้สามีเสียชีวิต และบางรายที่เกิดจากบันดาลโทสะสั่งสม และทำร้ายสามีจนเสียชีวิต
มูลนิธิฯ ได้คัดเลือกกรณีหญิงที่ต้องคดีจำนวน ๓ ราย เป็นกรณีศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวน การสั่งฟ้องและในชั้นศาล โดยเป็นกรณีที่เกิดหลังจากการประกาศบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พบว่า กระบวนการยุติธรรมยังขาดแนวทางที่ละเอียดอ่อนต่อการพิจารณาคดีเหล่านี้ ในขณะที่ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงฯ ใช้แนวทางให้ผู้กระทำกลับตัวและสามารถกลับไปใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัว หญิงซึ่งตกเป็นจำเลยเหล่านี้จากในอดีตเข้าไม่ถึงความคุ้มครองจากกฎหมายดังกล่าวเมื่อต้องเผชิญกับความรุนแรง แต่เมื่อต้องคดีจากการทำให้สามีเสียชีวิต กลับต้องโทษจำคุก และส่งผลให้เด็กๆ ในครอบครัวนอกจากการสูญเสียพ่อแล้ว ยังต้องพลัดพรากจากแม่ของตน