Archive for the ‘Article บทความพิเศษ’ Category
สรุปการศึกษาเปรียบเทียบ กรณีหญิงถูกดำเนินคดีฆ่าสามี และ ข้อเสนอแนะด้านกระบวนการยุติธรรม
จากประสบการณ์ของมูลนิธิผู้หญิงในการให้ความช่วยเหลือแก่หญิงที่ถูกดำเนินคดีในข้อหาเจตนาฆ่าสืบเนื่องจากความรุนแรงในครอบครัว พบว่าส่วนใหญ่ผู้หญิงต้องถูกพิพากษาลงโทษจำคุก ๗-๘ ปี ข้อเท็จจริงที่ได้จากการสัมภาษณ์พบว่าหญิงเหล่านี้มีประวัติเผชิญกับความรุนแรงในครอบครัวมาเป็นเวลานาน จนเกิดอาการที่เป็นผลกระทบสั่งสมจากการถูกกระทำความรุนแรงจากสามีหรือคนรัก และต้องดำเนินชีวิตด้วยความหวาดกลัว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนทำให้สามีเสียชีวิตเมื่อผู้หญิงสู้กลับเพื่อตอบโต้กับความรุนแรง หรือเพื่อป้องกันมิให้สามีมาทำร้ายตน แต่มิได้มีเจตนาทำให้สามีเสียชีวิต และบางรายที่เกิดจากบันดาลโทสะสั่งสม และทำร้ายสามีจนเสียชีวิต
มูลนิธิฯ ได้คัดเลือกกรณีหญิงที่ต้องคดีจำนวน ๓ ราย เป็นกรณีศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวน การสั่งฟ้องและในชั้นศาล โดยเป็นกรณีที่เกิดหลังจากการประกาศบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พบว่า กระบวนการยุติธรรมยังขาดแนวทางที่ละเอียดอ่อนต่อการพิจารณาคดีเหล่านี้ ในขณะที่ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงฯ ใช้แนวทางให้ผู้กระทำกลับตัวและสามารถกลับไปใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัว หญิงซึ่งตกเป็นจำเลยเหล่านี้จากในอดีตเข้าไม่ถึงความคุ้มครองจากกฎหมายดังกล่าวเมื่อต้องเผชิญกับความรุนแรง แต่เมื่อต้องคดีจากการทำให้สามีเสียชีวิต กลับต้องโทษจำคุก และส่งผลให้เด็กๆ ในครอบครัวนอกจากการสูญเสียพ่อแล้ว ยังต้องพลัดพรากจากแม่ของตน
อาเซียน 2015 ผู้หญิงจะได้อะไร กลไกอาเซียนด้านสิทธิผู้หญิง จะเป็นความหวังได้หรือ?
ความตื่นตัวในการมาถึงของประชาคมอาเซียน มีเพิ่มมากขึ้นในปีปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากการปรับเปลี่ยนระยะเวลาเปิดภาคเรียนของสถาบันการศึกษาไปจนถึงการจัดเวทีของหอการค้า นักลงทุน เพื่อเตรียมรับกับประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน แต่สำหรับชาวบ้านโดยทั่วไป ก็ยังไม่มีโอกาสรับรู้มากนักถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า รวมถึง การเปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่จะเกิดกับผู้หญิง จากอาเซียน 2015
แม้ว่าปัจจุบัน ตามกฎบัตรอาเซียน หรือ ASEAN CHARTER ซึ่งอาเซียนได้จัดทำขึ้น เป็นธรรมนูญรับรองอาเซียนให้เป็นองค์กรนิติบุคคล ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 จะได้ระบุอย่างแจ่มชัดให้การดำรงชีวิตที่ดีและสวัสดิการของประชาชนเป็นศูนย์กลางของกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน กฎบัตรอาเซียนนี้นับเป็นกฎหมายรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนอันประกอบด้วยแผนงานสามเสาหลัก คือการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม ในการกำหนดทิศทางความร่วมมือและการทำงานร่วมกันของประเทศภาคีสมาชิก Read the rest of this entry »
‘ผู้หญิง’เสนอตัวดับไฟใต้ วอนรัฐใส่ใจมุมวัฒนธรรม
สถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและกระจายเกิดผลกระทบไปยังผู้คนแทบทุกกลุ่ม ทั้งตำรวจ ทหาร อาสาสมัคร ครู นักเรียน ชาวบ้าน ฯลฯ โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงที่เป็นคนสำคัญของครอบครัว เนื่องจากผู้หญิงจำนวนมากในพื้นที่ต้องเป็นหม้ายเนื่องจากสามีเสียชีวิต และต้องผจญกับชะตากรรมที่ต้องดูแลครอบครัวเพียงลำพัง นอกจากนี้ยังมีอีกจำนวนมากที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บเอง
มูลนิธิอ๊อกแฟมร่วมกับเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ และองค์กรภาคีเครือข่ายจัดเสวนา “สิทธิและบทบาทในกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้” เพื่อยื่นข้อเสนอหลักในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ โดยพัฒนาระบบกลไกให้เปิดโอกาสกับผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหาในทุกระดับ มียุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการ พร้อมงบประมาณสนับสนุนที่ชัดเจน Read the rest of this entry »
เสียงสะท้อนหญิงกลับจากต่างแดน
มูลนิธิผู้หญิง องค์กรพัฒนาเอกชนที่ให้ความช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กที่ประสบปัญหาความรุนแรง จัดกิจกรรมพบปะเยียวยาผู้หญิงที่กลับจากต่างแดนเป็นครั้งที่ 3 โดยรวบรวมข้อมูลที่เป็นเสียงสะท้อนของผู้หญิง โดยเฉพาะผู้หญิงที่ประสบปัญหาจากต่างแดน เพื่อให้ได้รับทราบและเข้าถึง ความช่วยเหลือต่างๆ
"ตอนเดินทางไป เหมือนกล่องหัวใจสีแดง เป็นที่รวมใจทุกดวงของครอบครัวไว้ แต่พอกลับมากล่องดวงใจบอบช้ำ เปลี่ยนเป็นสีดำ ซึ่งไม่มีวันที่จะกลับมาเป็นสีแดงอีกแล้ว" หญิงกลับจากมาเลเซีย อายุ 24 ปี กล่าว
"เหมือนนกไปไหนก็ได้ตามใจของมัน พอรู้ว่าจะได้ไปทำงานต่างประเทศ ก็คิดว่าตัวเองจะบินไปสูงๆ แต่พอไปแล้วกลับมา กลายเป็นนกที่บาดเจ็บ ต้องใช้เวลารักษา ไม่รู้ว่านานแค่ไหนถึงจะหายเป็นปกติ" หญิงกลับจากอิตาลีวัย 42 ปี Read the rest of this entry »