Unlimited Web HostingFree Wordpress ThemesDeposit Poker

Archive for the ‘Movement ความเคลื่อนไหว’ Category

มารู้จัก Smile-lay Club สโมสรเพื่อเด็กเคลื่อนย้ายในแม่สอด

 

Smile-Lay ภาษาพม่าอ่านว่า สมาย-เล เป็นศัพท์แสลงภาษาพม่า แปลว่า ยิ้มแย้ม เด็กๆชาวพม่ามุสลิมในแม่สอดได้ช่วยกันตั้งชื่อนี้เพื่อสะท้อนถึงความรู้สึกของพวกเขาเวลามาร่วมกิจกรรมที่สโมสรเพื่อเด็กเคลื่อนย้ายแห่งนี้

Smile-lay Club เกิดขึ้นจากประสบการณ์การทำงานของมูลนิธิผู้หญิงเพื่อช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว หรือถูกล่วงเกินทางเพศโดยร่วมมือกับผู้นำ ผู้หญิง และเด็กในชุมชนพม่ามุสลิม 3 แห่งในอำเภอแม่สอดเป็นระยะเวลากว่า 5 ปี ในด้านการป้องกันปัญหาความรุนแรงทางเพศ มูลนิธิผู้หญิงพบว่าเมื่อผู้นำชุมชนและคนในชุมชนรวมทั้งเด็กๆมีความรู้ความเข้าใจว่าความรุนแรงต่อผู้หญิงคืออะไร พวกเค้าจะเกิดความเห็นอกเห็นใจผู้ที่ประสบปัญหาความรุนแรงและพยายามช่วยเหลือ ผู้ใหญ่พยายามช่วยให้เด็กๆปลอดภัยจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือ ถูกทำร้าย ส่วนเด็กๆเมื่อเริ่มรู้จักรูปแบบต่างๆของการล่วงเกินทางเพศเด็กจะสามารถเริ่มป้องกันตนเองในเบื้องต้นได้ Read the rest of this entry »

แถลงการณ์ร่วม เครือข่ายผู้หญิงและผู้หญิงเพศหลากหลายในประเทศไทยที่ติดตามการปฏิบัติตาม อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ

ในนามเครือข่ายผู้หญิงและผู้หญิงเพศหลากหลายในประเทศไทยที่ติดตามการปฏิบัติตาม อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention for the Elimination of All Forms of Discrimination against Women – CEDAW) ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยนำข้อแสนอแนะที่คณะกรรมการแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี หรือ คณะกรรมการฯ (UN Committee on Eliminations of Discriminations against Women) รับรองมาปฏิบัติให้สัมฤทธิ์ผล

Read the rest of this entry »

รายงานการประชุม สรุปบทเรียนคดีหญิงฆ่าสามีอันเกิดจากการถูกกระทำความรุนแรง

มูลนิธิได้จัดการประชุมนำเสนอผลการศึกษาเปรียบเทียบกรณีหญิงต้องคดีฆ่าสามีจำนวน ๓ คดี พร้อมข้อเสนอแนะต่อกระบวนการยุติธรรมในคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับความรุนแรงในครอบครัว   เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๘  ณ สภาคริสตจักรในประเทศไทย สะพานหัวช้าง  สนับสนุนโดย  UN WOMEN โดยมีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงช่องทางความเป็นไปได้ของข้อเสนอแนะ ดังมีรายละเอียดพอสรุปได้ ดังนี้ Read the rest of this entry »

งานรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง เนื่องในวันสิทธิมนุษยชน ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๕

 

10decem2555

มูลนิธิผู้หญิง ร่วมกับ เครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพ สมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ แอ๊คชันเอดส์ และองค์กรเครือข่าย จัดงานรณรงค์ยุติความรุนแรงในภาคใต้และความรุนแรงต่อผู้หญิง ณ สวนสันติชัยปราการ กรุงเทพมหานคร เนื่องในวันสิทธิมนุษยชน ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ และยังเป็นโอกาสระลึกถึงพี่สาว น้องสาวของเราที่กำลังเผชิญความรุนแรงทั้งทางร่างกาย จิตใจ และทางเพศไม่ว่าจะอยู่ในบ้านหรือนอกบ้าน โดยเฉพาะพี่น้องผู้หญิงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ดำรงชีวิตภายใต้ความหวาดกลัวจากความขัดแย้งทางอาวุธและได้สูญเสียผู้เป็นที่รักในครอบครัว ต้องประสบความยากลำบากในการดำรงอยู่ รวมทั้งตระหนักร่วมกันถึงผู้หญิงที่ได้ต่อสู้และสูญเสียชีวิตจากการพิทักษ์ปกป้องสิทธิและเสรีภาพในความเป็นมนุษย์ของตนและผู้อื่นนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ความรุนแรงต่อผู้หญิงไม่ว่าจะเกิดในพื้นที่ส่วนตัว หรือพื้นที่สาธารณะ ไม่ว่าจะกระทำโดยสมาชิกในครอบครัว บุคคลในสังคม เจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้ต่างลัทธิความเชื่อ ล้วนเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อความมั่นคงของชีวิต และเป็นอุปสรรคในการพัฒนาของผู้หญิง และการสร้างสังคมที่สันติสุข รวมทั้งละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้หญิงในการดำรงชีวิตที่มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ Read the rest of this entry »

แฉชีวิตสาวไทย-เหยื่อค้ากาม

 

100_92

เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.  2552 ที่โรงแรมเอเชีย มูลนิธิผู้หญิงจัดสัมมนา "การกลับบ้านและสร้างชีวิตใหม่ ประเด็นท้าทายในการทำงานค้ามนุษย์" โดย น.ส.มัทนา เชตมี ผู้ประสานงานโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ กล่าวว่า มูลนิธิผู้หญิงได้รวบรวมข้อมูลผู้เสียหาย จากการค้ามนุษย์ข้ามชาติ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2550 – กุมภาพันธ์ 2552 พบผู้เสียหาย 130 ราย ส่วนใหญ่ อายุ 25 – 30 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษา 46 ราย อนุปริญญา 30 ราย เป็นผู้เสียหายกลับจากประเทศปลายทาง มากที่สุด คือ บาห์เรน ร้อยละ 40 อิตาลี ร้อยละ 19 และ ญี่ปุ่น ร้อยละ 12 

ทั้งนี้ ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จะถูกละเมิดสิทธิ ได้แก่ ถูกบังคับให้ทำศัลยกรรม ข่มขืน ทำร้าย ทำแท้ง บังคับให้เสพยาเสพติด ถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยถูกกระทำวิตถารทางเพศ ถูกดุด่า ปฏิบัติเยี่ยงทาส ถูกละเมิดสิทธิแรงงาน ผูกมัดด้วยหนี้สิน ค่าตอบแทนที่ไม่เป็นธรรม ปฏิเสธแขกไม่ได้ ผู้เสียหายที่กลับมาจะอยู่ในสภาพติดเหล้า ติดยา เจ็บป่วยจากโรคทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี เอดส์ เนื้องอก มะเร็ง สุดท้ายมีแต่ความเครียด ซึมเศร้า และการพยายามฆ่าตัวตาย

Read the rest of this entry »

มอบรางวัลประกวดคำขวัญ รณรงค์ป้องกันความรุนแรงและแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธี

 

e0b89be0b8a3e0b8b0e0b881e0b8a7e0b894e0b884e0b8b3e0b882e0b8a7e0b8b1e0b88d1

มูลนิธิผู้หญิง ร่วมกับ เครือข่ายนักจัดรายการวิทยุจังหวัดพังงา ประกาศผลการประกวดคำขวัญโดยให้เด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน ๑๘ ปี ในพื้นที่จังหวัดพังงาร่วมรณรงค์ป้องกันความรุนแรงและแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธี และมีพิธีมอบรางวัลในงาน ๓ ปีสึนามิ ที่ชุมชนชนบ้านไอทีวี เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ที่ผ่านม

เนื่องด้วยเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เป็นเดือนที่รัฐบาลไทยประกาศให้เป็นเดือนแห่งการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและผู้หญิง มูลนิธิผู้หญิงจึงได้ตระหนักถึงความสำคัญในการกระตุ้นให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการรณรงค์ป้องกันแก้ไขปัญหา จึงได้ร่วมกับเครือข่ายนักจัดรายการวิทยุจังหวัดพังงา จัดประกวดคำขวัญขึ้น  Read the rest of this entry »

ปีสึนามิ กับการฟื้นฟูชีวิตผู้หญิงและเด็ก : ความรุนแรง เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ธรรมดา

 

sunami-01

สืบเนื่องจากเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่ผ่านมา มูลนิธิผู้หญิงได้ร่วมกับอาสาสมัครผู้หญิงสำรวจสถานการณ์ปัญหาของผู้หญิงและเด็ก และพบว่า ความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาที่รุนแรงมากขึ้นหลังจากภัยสีนามิ 

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา มูลนิธิผู้หญิงได้ร่วมกับอาสาสมัครผู้หญิงให้ความช่วยเหลือผู้หญิงที่ประสบปัญหา เครือข่ายผู้ประสบภัย สมาชิกในชุมชนบ้านไอทีวี องค์กรแอคชั่นเอด ประเทศไทย และโครงการให้ความช่วยเหลือกฎหมายแก่ผู้ประสบภัย มูลนิธิเอเชีย จัดงาน  3ปีสึนามิ กับการฟื้นฟูชีวิตผู้หญิงและเด็ก : ความรุนแรง เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ธรรมดา   ขึ้น โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 200 คน 

ในงานประกอบด้วยเวทีเสวนา การแสดงละครจากเยาวชนจังหวัดต่าง ๆ และมอบรางวัลประกวดคำขวัญรณรงค์แก้ไขความขัดแย้งโดยสันติวิธี อาสาสมัครผู้หญิงได้ร่วมเสนอสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นในชุมชนและบทบาทของอาสาสมัคร ที่ผ่านมา  Read the rest of this entry »

มิติความสัมพันธ์หญิงชายกับการจัดการและแก้ไขปัญหาจากภัยพิบัติ

 

sunami5

นับจากเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิได้เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 จนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลาเกือบสามปี ที่มูลนิธิผู้หญิง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสานชีวิตหญิงและเด็กอันดามัน เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟู เสริมสร้างพลังให้หญิงและเด็กที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้โดยปกติ ฯลฯ จึงได้จัดทำรายงาน เรื่อง ชนชั้น ชายขอบ เพศสภาพ และภัยพิบัติ กรณีสึนามิกับผลกระทบต่อผู้หญิงขึ้น โดยรวบรวมข้อมูลจากการทำงานของมูลนิธิผู้หญิง และได้นำเสนอรายงานนี้ในงานสัมมนาเรื่องมิติหญิงชายกับการจัดการแก้ไขปัญหาจากภัยพิบัติ ในวันที่ 26 มิถุนายน ณ ห้องประชุมสมาคมศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Read the rest of this entry »

ผู้หญิงปกป้องสิทธิมนุษยชน รางวัลแด่ผู้หญิงที่อุทิศตนเพื่อสังคม เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม พ.ศ.2550

 

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมกับแนวร่วมเพื่อความก้าวหน้าของผู้หญิง และองค์กรพันธมิตร ได้มอบรางวัลดีเด่น “ผู้หญิงปกป้องสิทธิมนุษยชน” ให้แก่ นางร้อย สีหาพงษ์, นางแยนะ สะแลแม และนางสาวฉันทลักษณ์ รักษาอยู่ ซึ่งทั้งสามคนถือว่าเป็นผู้มีบทบาทและผลงานดีเด่นในการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน มีความมุ่งมั่น เสียสละเพื่อการงานที่มีคุณค่า ต่อสังคม แม้จะต้องประสบกับความยากลำบาก หรือเสี่ยงอันตราย นับเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม ซึ่งแต่ละคนได้สร้างสรรค์งานที่เป็นคุณประโยชน์ต่อสังคม พอสรุปได้ดังนี้ 

paroi

นางร้อย สีหาพงษ์ – หรือ ป้าร้อย ที่ชาวชุมชนริมทางรถไฟท่าเรือคลองเตยคุ้นเคยกันดี เกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2477 มีอาชีพเป็นแม่ค้าขายข้าวแกงหาเลี้ยงครอบครัวที่อาศัยในที่ดินรกร้างใกล้ท่าเรือคลองเตยมานานเกือบ 20 ปี จนกระทั่งในปี 2527 มีการไล่รื้อโดยผู้อ้างสิทธิ์ว่าเป็นเจ้าของที่ดิน แต่ไม่ได้มีการต่อสัญญาเช่ากับการท่าเรือมานานแล้ว ป้าร้อยและชาวบ้านจึงร่วมใจกันต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมและความเป็นความถูกต้อง ด้วยความใฝ่รู้และรักที่จะเรียนรู้ ไม่ว่าจะมีการประชุมหรือสัมมนาที่ไหน ป้าร้อยจะเข้าร่วมด้วยเสมอ

นอกจากนั้นแล้วป้ายังได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาดูงาน และเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนกับหน่วยงานในต่างประเทศ ซึ่งป้าก็ได้นำประสบการณ์ความรู้ที่ได้มาพัฒนาชุมชนริมทางรถไฟ ปัจจุบันป้าร้อยเป็นประธานสหกรณ์เคหะสถาน ศูนย์รวมพัฒนาชุมชนจำกัด ที่มีโครงการหาที่อยู่อาศัยถาวรให้แก่สมาชิกชุมชน เพื่อวันข้างหน้าป้าร้อยและพี่น้องในชุมชนจะได้มีบ้านเป็นของตัวเอง หลังจากที่อยู่อย่างไร้สิทธิ์มาเกือบ 40 ปี  Read the rest of this entry »

ข้อเรียกร้องของแนวร่วมผู้หญิงต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

t1

เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ แกนนำหญิงชาวบ้านจากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศซึ่งเป็นสมาชิกแนวร่วมผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพ ได้ร่วมประชุมเพื่อระดมข้อเสนอแนะต่อการแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงในปัจจุบัน และความคิดเห็นของผู้หญิงต่อการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ผลจากการประชุมแนวร่วมผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพได้มีข้อเรียกร้องให้สภาร่างรัฐธรรมนูญกำหนดบทบัญญัติหลักการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายและคุ้มครองผู้หญิงให้ปลอดภัยจากความรุนแรงอันเกิดจากความแตกต่างทางเพศทั้งในครอบครัวและในพื้นที่สาธารณะรวมทั้งจัดตั้งคณะกรรมการเรื่องความเสมอภาคหญิงชายในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยบรรจุมาตรา ต่อไปนี้  Read the rest of this entry »

Thai / English

บทความล่าสุด
ปฎิทินกิจกรรม
May 2023
M T W T F S S
« Sep    
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031