Archive for the ‘Movement ความเคลื่อนไหว’ Category
รณรงค์ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก ที่จังหวัดพังงา
เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ จังหวัดพังงาร่วมกับมูลนิธิผู้หญิงและองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงและเด็กในพื้นที่ประสบภัยคลื่นสึนามิ จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “สถานการณ์และการให้ความคุ้มครองผู้หญิงและเด็กจากความรุนแรง” ณ โรงแรมเขาหลัก ซันเซ็ท อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนได้รับรู้และตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก และเพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการยุติปัญหาดังกล่าว โดยมีตัวแทนจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำสตรี และอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จาก ๗ อำเภอ รวมจำนวน ๑๐๐ คน เข้าร่วมการสัมมนาครั้งนี้
คุณนิยม ศิริรัตน์ – พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพังงา ให้ข้อมูลว่า ตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๔๘ ถึงเดือนกันยายน ๒๕๔๙ มีผู้ถูกกระทำความรุนแรงที่เข้ารับบริการจากศูนย์พึ่งได้ จังหวัดพังงา (OSCC) จำนวน ๑๕๐ คน และเน้นว่าชุมชนควรร่วมกันสร้างสังคมไม่ทอดทิ้งกัน โดยเริ่มจากปัญหาที่เกิดกับหญิงและเด็ก Read the rest of this entry »
แถลงการณ์ของเครือข่ายยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง เนื่องในโอกาสรณรงค์ ๑๖ วันยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง (๒๕ พฤศจิกายน – ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๙) ผู้หญิงต้องการความเป็นธรรมในฐานะมนุษย์
มนุษย์ทุกคนมีสิทธิเป็นเจ้าของชีวิตและร่างกายของตนเอง และมีสิทธิได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน แต่ตลอดเวลาที่ผ่านมา ผู้หญิงต้องเผชิญกับความรุนแรงหลากหลายรูปแบบ บางครั้งปรากฏเห็นชัด สังคมรับรู้และเข้าใจ แต่ยังคงมีการกระทำรุนแรงต่อผู้หญิงอีกมากมายที่สังคมไม่มีโอกาสรับรู้ เพราะการกระทำนั้นถูกซ่อนเร้นอยู่ภายใต้หลังคาบ้านหรือในที่ทำงาน ที่ยิ่งน่าเป็นห่วงมากกว่านั่นคือ การกระทำที่คนในสังคมมองเห็นชัดอยู่ในที่สาธารณะ แต่ไม่ตระหนักว่านั่นเป็นความรุนแรงต่อผู้หญิง รวมถึงความรุนแรงที่เกิดจากการกระทำและการละเลยของรัฐด้วย
สังคมไทยประกอบด้วยกลุ่มคนที่หลากหลาย ในหมู่ผู้หญิงก็มีความหลากหลายเช่นเดียวกัน โดยมีความแตกต่างกันทางศาสนา ชาติพันธุ์ ชนชั้นหรือรสนิยมทางเพศ รวมทั้งผู้หญิงที่ถูกตีตราด้วยอคติทางสังคมอีกจำนวนมาก เช่น ผู้หญิงพิการ ผู้หญิงที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวี ผู้หญิงบริการ ผู้หญิงที่ถูกข่มขืน ผู้หญิงที่เคยผ่านการทำแท้งมาแล้ว
ถักทอชีวิตใหม่ ในศูนย์พัฒนาชีวิตเด็กบ้านวังใหม่
จากการที่มูลนิธิผู้หญิงร่วมกับอาสาสมัคร และผู้นำชุมชนจัดตั้งและพัฒนา “โครงการศูนย์พัฒนาชีวิตเด็กบ้านวังใหม่” โดยมีเป้าหมายเพื่อรับเด็กเข้ามาดูแลในศูนย์ฯ และเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็ก ๆ ทุกคนในหมู่บ้านวังใหม่
หมู่บ้านวังใหม่ เป็นหมู่บ้านของชาวเขาเผ่าต่างๆ ได้แก่ เย้า เมี่ยน ลั๊วะ และลีซอ เนื่องจากการอพยพชาวบ้านที่ดำรงชีวิตแบบเกษตรกรรมในเขตภูเขาลงมาสู่ พื้นราบ ซึ่งเป็นพื้นที่ไม่สามารถเพาะปลูกได้ ผู้ปกครองเด็กจึงย้ายถิ่นเพื่อหางานทำทั้งในและต่างประเทศ เกิดสภาพปัญหาเด็กถูกทอดทิ้งอย่างรุนแรง และปัญหายาเสพติดที่ระบาดทั้งการค้าและการเสพ ผู้ปกครองบางคนติดคุกเนื่องจากยาเสพติด บางรายเสียชีวิตหรือติดโรคเอดส์ ส่งผลให้ผู้ปกครองไม่สามารถดูแลเด็กได้ Read the rest of this entry »
มูลนิธิผู้หญิงร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงฯ แก้ไขการค้ามนุษย์ ๑๙ จังหวัดภาคอีสาน
มูลนิธิผู้หญิงร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง เกี่ยวกับการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ของหน่วยงานในพื้นที่ ๑๙ จังหวัดภาตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทางคณะอนุกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาการค้าเด็กและหญิง สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ (สท.) จัดให้มีพิธีลงนามเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๔๙ ณ โรงแรมเจริญธานี ปริ้นเซส ขอนแก่น
ความรับผิดชอบของรัฐต่อความเสมอภาคหญิงชาย
สืบเนื่องจากงานวันสตรีสากล 8 มีนาคม ประจำปี 2549 "สู่ความเสมอภาคหญิงชาย" ซึ่งจัดโดย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมกับ แนวร่วมเพื่อความก้าวหน้าของผู้หญิง เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2549 มูลนิธิผู้หญิงได้ร่วมกับแนวร่วมเพื่อความก้าวหน้าของผู้หญิงจัดทำเอกสารเผยแพร่ เรื่อง ความรับผิดชอบของรัฐต่อความเสมอภาคหญิงชาย ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ความรับผิดชอบของรัฐต่อความเสมอภาคหญิงชาย ประเทศไทยได้ลงนามและเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบต่อสตรีซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศเรื่องผู้หญิงมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งนับว่าเป็นก้าวสำคัญ เพราะเท่ากับรัฐบาลไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ที่ชัดเจนในการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายและขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีตามแนวทางที่กำหนดไว้ตามอนุสัญญา โดยมีกลไกติดตามที่กำหนดให้มีการรายงานต่อคณะกรรมการของอนุสัญญานี้ทุก ๆ ๔ ปี
ชีวิตที่หลงเหลือ กับ การใฝ่หาสันติภาพ และความมั่นคงของมนุษย์
นับจากเหตุการณ์ปล้นปืนวันที่ ๔ มกราคม และเหตุการณ์การเสียชีวิตของ ๑๐๖ ชีวิตเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๗ การใฝ่หาสันติภาพและความมั่นคงของมนุษย์ในนาม “เครือข่ายผู้หญิงเพื่อสันติภาพ” ได้เริ่มขึ้นจากกลุ่มคนเล็กๆ ที่แตกต่างหลากหลายและห่างไกลจากพื้นที่ความรุนแรง มาร่วมกันพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงสถานการณ์และบทบาทของผู้หญิงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ด้วยย่างก้าวที่ละเล็กทีละน้อย เครือข่ายเล็กๆ นี้ได้พาตนเองไปเชื่อมร้อยกับ ผู้หญิง เด็ก และเยาวชน ผู้สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักของตนไปในเหตุการณ์รุนแรงอีกหลายร้อยชีวิต เพื่อรับฟังเรื่องราวและเรียงร้อย ขึ้นเป็น “ชีวิตที่หลงเหลือ กับ รอยยิ้มหลังหยาดเลือด” หนังสือเล่มน้อยที่เป็นสื่อให้ผู้สูญเสียได้บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของเขาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภาคประชาคมต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจสถานการณ์ และร่วมแสวงหาแนวทางการสร้างสันติภาพร่วมกัน Read the rest of this entry »
เสียงของผู้หญิง ต่อการฟื้นฟูชีวิตและสังคม ในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ
เมื่อวันที่ 17 -18 กันยายน 2548 มูลนิธิผู้หญิงได้จัดประชุมเรื่อง “เสียงของผู้หญิง ต่อการฟื้นฟูชีวิตและสังคม ในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ” ณ กรีนวิว รีสอร์ท อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา โดยมีจุดประสงค์ เพื่อให้ตัวแทนหญิงประสบภัยจากกลุ่มเป้าหมายต่างๆ จำนวนทั้งหมด 28 คน ซึ่งแบ่งเป็น ผู้หญิงหม้าย ที่นับถือศาสนาอิสลาม 6 คน ผู้หญิงหม้าย ที่นับถือศาสนาพุทธ 2 คน แรงงานอพยพหญิงสัญชาติพม่า 3 คน แรงงานอพยพหญิงไทย 2 คน/พนักงานในสถานบริการ 2 คน แรงงานนวดชายหาด 1 คน ผู้หญิงชาวมอแกน จากเกาะเหลาจังหวัดระนอง 5 คน และผู้หญิงที่ประสบภัยสึนามิ (ที่พักในบ้านพักชั่วคราว ในวัดสามัคคีธรรม 2 คน/หินลาด 3 คน/ปากเตรียม 1 คน /แพปลา 1 คน) ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนสภาพปัญหา และนำเสนอความต้องการ ที่สอดคล้องกับผู้หญิงในกลุ่มต่างๆ และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเรื่องแนวทางการฟื้นฟูชีวิต และสังคม ที่คำนึงถึงมิติความแตกต่างของหญิงชาย และความหลากหลายของผู้หญิง เพื่อเสนอในการประชุมเวทีสาธารณะเรื่อง การฟื้นฟูชีวิตและชุมชนหลังภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิ : สิ่งท้าทาย ยุทธศาสตร์และข้อเสนอทางนโยบาย ในวันที่ 25-26 กันยายน 2548 ที่โรงแรมมารีไทม์ปาร์คแอนด์สปา รีสอร์ท จังหวัดกระบี่ ซึ่งร่วมจัดโดยเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติ กรณีสึนามิ ภายใต้คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน เครือข่ายความร่วมมือฟื้นฟูชุมชนชายฝั่งอันดามัน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และเครือข่ายสิ่งแวดล้อมไทย 48 Read the rest of this entry »
ข้อเสนอแนะของภาคประชาสังคม ต่อ ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
ปัญหาการค้ามนุษย์โดยเฉพาะการค้าหญิงและเด็กได้รับการตระหนักจากประชาคมโลกว่าเป็นอาชญากรรมข้ามชาติและเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ภาครัฐและเอกชนในประเทศไทยได้ดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งหนึ่งในความพยายามนั้น ได้แก่ การยกร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์พ.ศ…..โดยแก้ไขปรับปรุงจากพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็กพ.ศ.๒๕๔๐ ที่ยังไม่ครอบคลุมกับสภาพปัญหาการค้ามนุษย์ในปัจจุบัน และขาดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย ร่างพระราชบัญญัตินี้ได้ผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ๒๕๔๘แล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา Read the rest of this entry »