Archive for the ‘NEWS ข่าว’ Category
ข้อเสนอจากเวทีสาธารณะ ผู้หญิงต้องการนโยบายอะไรจากพรรคการเมือง
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2550 เครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพ ร่วมกับ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา และ มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท จัดเวทีนโยบายสาธารณะ เรื่อง ผู้หญิงต้องการนโยบายอะไรจากพรรคการเมือง ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ ปาร์ค ดินแดง กทม.
เวทีสาธารณะ ผู้หญิงต้องการนโยบายอะไรจากพรรคการเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อนำปัญหาและความต้องการเชิงนโยบายของผู้หญิงในภาคส่วนต่างๆ มาเสนอต่อพรรคการเมือง และต่อสาธารณชนในช่วงก่อนการเลือกตั้ง เวทีครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 160 คน ประกอบด้วยผู้นำสตรีที่ทำงานในประเด็นต่างๆ เช่น ผู้ใช้แรงงานหญิง ผู้หญิงจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้หญิงชนเผ่า ผู้หญิงพิการ ผู้นำชุมชน นักจัดรายการวิทยุชุมชน องค์กรพัฒนาสตรีเอกชน ฯลฯ Read the rest of this entry »
แนวทางระดับชุมชน เพื่อคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว
ตามที่มีการประกาศบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว มูลนิธิผู้หญิงร่วมกับ คณะกรรมการชุมชนทุ่งหว้า และอาสาสมัครผู้หญิง จัดทำแนวทางระดับชุมชนเพื่อคุ้มครองผู้ถูกกระทำจากความรุนแรงในครอบครัว เพื่อให้ กฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ชุมชนควรตื่นตัวและสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมให้ผู้ถูกกระทำสามารถเข้าถึงกระบวนการคุ้มครอง ตามกฎหมายที่บัญญัติขึ้น Read the rest of this entry »
บุกช่วยเด็กและหญิงจากประเทศลาวจากโรงงานถุงมือนรก
มูลนิธิผู้หญิง ได้ประสานงานกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองสัมภาษณ์เด็กลาวที่หลบหนีออกมาจากโรงงานผลิตถุงมือย่านบางมด ซึ่งได้แจ้งว่าที่โรงงานดังกล่าว ยังมีเพื่อนถูกขังและใช้แรงงานอยู่อีกกว่าสิบคน
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ทางมูลนิธิผู้หญิงจึงได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่จากบ้านเกร็ดตระการ และขอกำลังจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดต่อเด็ก เยาวชน และสตรี (ปดส) นำหมายศาลบุกค้นโรงงานที่ซอยพุทธบูชา แขวงบางมด และสามารถช่วยเหลือหญิงและเด็กจากประเทศลาวอีก 17 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 12 – 21 ปี ส่วนใหญ่เป็นเด็กหญิง อายุ 14-15 ปี ที่อายุน้อยสุด 12 ปี มีหนึ่งคน และมีผู้ชายหนึ่งคน อายุ 23 ปี Read the rest of this entry »
มูลนิธิผู้หญิง ได้รับเลือกให้เป็นองค์กรภาคเอกชนดีเด่น ด้านการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนสตรี เนื่องในวันสตรีสากล 8 มี.ค. 2549
วันสตรีสากล 8 มีนาคม 2549 สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ ได้จัดงานพิธีประกาศเกียรติคุณให้แก่ สตรีดีเด่น บุคคลและหน่วยงานดีเด่นด้านการส่งเสริมศักยภาพสตรี ด้านความเสมอภาคหญิงชายและการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน รวม 10 สาขา
ซึ่งมูลนิธิผู้หญิง ได้รับรางวัลและการประกาศเกียรติคุณในสาขาหน่วยงานภาคเอกชนดีเด่น ด้านการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน และ คุณ ศิริพร สะโครบาเนค ประธานมูลนิธิผู้หญิง ได้รับการประกาศเกียรติคุณในสาขาบุคคลในภาคเอกชนดีเด่น ด้านการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของสตรี
“สู่ความเสมอภาคหญิงชาย” ในงานวันสตรีสากล 8 มีนาคม 2549
งานวันสตรีสากล 8 มีนาคม ประจำปี 2549 “สู่ความเสมอภาคหญิงชาย” และการมอบรางวัลดีเด่น “ผู้หญิงปกป้องสิทธิมนุษยชน” วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2549 เวลา 8.30 – 14.00 น. ณ ห้อง 101 ชั้น 1 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จัดโดย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมกับ แนวร่วมเพื่อความก้าวหน้าของผู้หญิง กำหนดการ
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมงาน
09.00 – 09.15 น. ชมสไลด์เรื่อง “สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของผู้หญิงไทย”
09.15 – 09.30 น. + ประธานกรรมการพิจารณาคัดเลือกรางวัลดีเด่น“ผู้หญิงปกป้องสิทธิมนุษยชน” ประจำปี 2549 กล่าวรายงานและชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดงาน + ประธานกล่าวเปิดงาน โดย ศาตราจารย์เสน่ห์ จามริก ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
09.30 – 11.30 น. + ชมสไลด์เรื่อง“อนุสัญญาผู้หญิงกับสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงในสังคมไทย” + เวทีอภิปรายเรื่อง “ความรับผิดชอบของรัฐต่อความเสมอภาคหญิงชาย” Read the rest of this entry »
สถานการณ์หญิงต่างชาติในญี่ปุ่น
บ้านศาลา เป็นองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือ ด้านที่พักพิงแก่หญิงต่างชาติในประเทศญี่ปุ่น โดยทำงานให้คำปรึกษา ความช่วยเหลือทางกฎหมาย และมีล่ามที่คอยช่วยเหลือในการสื่อสาร ทั้งภาษาไทย ฟิลิบปินส์ อังกฤษ สเปน โดยเริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 ข้อมูลจากการศึกษาหญิงที่มาขอความช่วยเหลือจากบ้านศาลา ตั้งแต่เริ่มเปิดบ้านพัก 183 ราย ทำให้ได้ทราบถึงแนวโน้มสถานการณ์ การค้าหญิงและปัญหาการบังคับค้าประเวณี ในประเทศญี่ปุ่น ในรอบสิบปีที่ผ่านมา ผลจากการศึกษาพบว่า ผู้ที่ขอความช่วยเหลือจากบ้านศาลาส่วนใหญ่ เป็นหญิงไทยและหญิงชาวฟิลิปปินส์ กล่าวคือเป็นหญิงไทย 171 ราย หรือ ร้อยละ 93.4
เครือข่ายผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ ภารกิจผู้หญิงเนื่องใน 8 มีนา วันสตรีสากล
เครือข่ายผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ ภารกิจผู้หญิงเนื่องใน 8 มีนา วันสตรีสากล 8 มีนา วันสตรีสากลมีจุดกำเนิดมาจาก การนัดหยุดงานและเดินขบวนของกรรมกรหญิง โรงงานทอผ้า ที่เมืองชิคาโก ที่มีชีวิตอันแร้นแค้นไร้ความหวัง จากการทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมอันเลวร้าย และมีชั่วโมงทำงานยายนาน หลังจากต่อสู้นานถึง 3 ปีเต็มในวันที่ 8 มีนาคม 1910 ผู้แทนหญิงจาก 18 ประเทศได้เข้าร่วมประชุมเพื่อสนับสนุนและเสนอ ให้มีการคุ้มครองแรงงานหญิงในระบบสามแปด กล่าวคือทำงาน 8 ชั่วโมง ศึกษา 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง กำหนดค่าจ้างให้เท่าเทียมกับชาย ให้การคุ้มครองผู้หญิงและเด็ก รวมทั้งประกาศให้วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันสตรีสากล
ปี 2547 จดแรงงานต่างด้าวครั้งต่อไปต้องมีบัตรประจำตัว
ปี 2547 จดแรงงานต่างด้าวครั้งต่อไปต้องมีบัตรประจำตัว
เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวจากทางกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่าในปี 2547 จะมีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวทั่วประเทศอีกครั้ง และจะมีการจัดทำเลข 13 หลักเหมือนบัตรประจำตัวประชาชน แต่จะขึ้นต้นด้วยหมายเลข 0 ซึ่งหมายถึงยังไม่มีสัญชาติ โดยจะเริ่มประกาศประมาณปลายเดือนมีนาคม หรือต้นเดือนเมษายนปีนี้
ผู้ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับนโยบายแรงงานต่างด้าว หรือไม่ได้มีความสนใจในเรื่องนี้เป็นพิเศษ อาจจะไม่รู้สึกอะไร เพราะคงเริ่มชาชินกับแฟชั่นการจดทะเบียนของรัฐเอื้อ แต่สำหรับแฟนพันธุ์แท้นโยบายแรงงานต่างด้าวแล้ว เชื่อว่าคงจะรู้สึกฉงนสนเท่ห์ด้วยความไม่เข้าใจปนๆ กับรู้สึกผิดหวังอยู่ไม่น้อยทีเดียว
กว่าสิบปีที่ผ่านมานับตั้งแต่รัฐบาลมีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว ครั้งแรกในปี 2535 ต้องยอมรับว่ามีความตระหนักถึงความจำเป็นทางเศรษฐกิจ ที่ต้องจ้างแรงงานต่างด้าวมากขึ้น งานจำนวนหนึ่ง เช่น ประมง การเกษตร และก่อสร้าง แรงงานไทยไม่ต้องการทำอีกต่อไป เพราะสภาพการทำงานที่แย่บวกกับค่าจ้างที่ต่ำ
แต่คงจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า แรงจูงใจที่หลบซ่อนอีกประการคือ ความถูกแสนถูกของแรงงานต่างด้าว เรียกได้ว่าแม้แรงงานไทยจะเสนอตัวทำงานในค่าจ้างต่ำ กว่าค่าจ้างขั้นต่ำ แรงงานต่างด้าวยังมีความได้เปรียบในการแข่งขันกับแรงงานไทยหลายเท่า เช่น แรงงานต่างด้าวในโรงงงานสิ่งทอ อาจได้รับค่าจ้างเพียง 50-60 บาทต่อวัน ขณะที่ค่าจ้างขั้นต่ำ 133 บาท
(คัดและเรียบเรียงจาก “พลวัตของวัฒนธรรมการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว”
มติชน 22 มกราคม 2547)