Archive for January, 2017
ข้อเสนอแนะต่อร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว
ตามที่กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว พ.ศ…. เพื่อใช้แทนพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยระบุถึงปัญหาและอุปสรรคจากการที่ไม่มีกระบวนการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวตามหลัก Family Life Cycle เครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพ และเครือข่ายองค์กรที่ทำงานป้องกันแก้ไขความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก ประกอบด้วย สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม มูลนิธิพิทักษ์สตรีและเด็ก สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย และมูลนิธิผู้หญิง จึงได้ร่วมกับ สาขาวิชาโทการพัฒนาเด็กเยาวชนและครอบครัว คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรวบรวมข้อเสนอแนะต่อร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ โดยมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้
วงเสวนาเสนอเร่งแก้ไขกฎหมายความรุนแรงในครอบครัวไม่ให้ไกล่เกลี่ย
เมื่อวั
นที่ 26 ธันวาคม 2559 เวลา 13.00 – 16.30 น. มูลนิธิผู้หญิง ร่วมกับ คณะอนุกรรมการด้านสิทธิสตรี คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สาขาวิชาโทการพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม และคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนาสังคมแผนกสตรี สภาประมุขบาทหลวงคาทอลิกแห่งประเทศไทย จัดเสวนาเรื่อง การรักษาสถาบันครอบครัว กับสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรง ณ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สืบเนื่องจากข่าวความรุนแรงในครอบครัวอยู่ในกระแสเป็นที่น่าสนใจ โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาจากหลากหลายหน่วยงาน งานนี้ได้รับเกียรติจาก รศ. ดร. โกวิทย์ พวงงาม คณะบดีคณะสังคมสงเคราะห์ มธ. กล่าวเปิดงานในฐานะเจ้าบ้าน
รายงานการประชุม สรุปบทเรียนคดีหญิงฆ่าสามีอันเกิดจากการถูกกระทำความรุนแรง
มูลนิธิได้จัดการประชุมนำเสนอผลการศึกษาเปรียบเทียบกรณีหญิงต้องคดีฆ่าสามีจำนวน ๓ คดี พร้อมข้อเสนอแนะต่อกระบวนการยุติธรรมในคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับความรุนแรงในครอบครัว เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๘ ณ สภาคริสตจักรในประเทศไทย สะพานหัวช้าง สนับสนุนโดย UN WOMEN โดยมีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงช่องทางความเป็นไปได้ของข้อเสนอแนะ ดังมีรายละเอียดพอสรุปได้ ดังนี้ Read the rest of this entry »
สรุปการศึกษาเปรียบเทียบ กรณีหญิงถูกดำเนินคดีฆ่าสามี และ ข้อเสนอแนะด้านกระบวนการยุติธรรม
จากประสบการณ์ของมูลนิธิผู้หญิงในการให้ความช่วยเหลือแก่หญิงที่ถูกดำเนินคดีในข้อหาเจตนาฆ่าสืบเนื่องจากความรุนแรงในครอบครัว พบว่าส่วนใหญ่ผู้หญิงต้องถูกพิพากษาลงโทษจำคุก ๗-๘ ปี ข้อเท็จจริงที่ได้จากการสัมภาษณ์พบว่าหญิงเหล่านี้มีประวัติเผชิญกับความรุนแรงในครอบครัวมาเป็นเวลานาน จนเกิดอาการที่เป็นผลกระทบสั่งสมจากการถูกกระทำความรุนแรงจากสามีหรือคนรัก และต้องดำเนินชีวิตด้วยความหวาดกลัว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนทำให้สามีเสียชีวิตเมื่อผู้หญิงสู้กลับเพื่อตอบโต้กับความรุนแรง หรือเพื่อป้องกันมิให้สามีมาทำร้ายตน แต่มิได้มีเจตนาทำให้สามีเสียชีวิต และบางรายที่เกิดจากบันดาลโทสะสั่งสม และทำร้ายสามีจนเสียชีวิต
มูลนิธิฯ ได้คัดเลือกกรณีหญิงที่ต้องคดีจำนวน ๓ ราย เป็นกรณีศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวน การสั่งฟ้องและในชั้นศาล โดยเป็นกรณีที่เกิดหลังจากการประกาศบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พบว่า กระบวนการยุติธรรมยังขาดแนวทางที่ละเอียดอ่อนต่อการพิจารณาคดีเหล่านี้ ในขณะที่ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงฯ ใช้แนวทางให้ผู้กระทำกลับตัวและสามารถกลับไปใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัว หญิงซึ่งตกเป็นจำเลยเหล่านี้จากในอดีตเข้าไม่ถึงความคุ้มครองจากกฎหมายดังกล่าวเมื่อต้องเผชิญกับความรุนแรง แต่เมื่อต้องคดีจากการทำให้สามีเสียชีวิต กลับต้องโทษจำคุก และส่งผลให้เด็กๆ ในครอบครัวนอกจากการสูญเสียพ่อแล้ว ยังต้องพลัดพรากจากแม่ของตน