ข้อเสนอจากเวทีสาธารณะ ผู้หญิงต้องการนโยบายอะไรจากพรรคการเมือง
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2550 เครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพ ร่วมกับ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา และ มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท จัดเวทีนโยบายสาธารณะ เรื่อง ผู้หญิงต้องการนโยบายอะไรจากพรรคการเมือง ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ ปาร์ค ดินแดง กทม.
เวทีสาธารณะ ผู้หญิงต้องการนโยบายอะไรจากพรรคการเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อนำปัญหาและความต้องการเชิงนโยบายของผู้หญิงในภาคส่วนต่างๆ มาเสนอต่อพรรคการเมือง และต่อสาธารณชนในช่วงก่อนการเลือกตั้ง เวทีครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 160 คน ประกอบด้วยผู้นำสตรีที่ทำงานในประเด็นต่างๆ เช่น ผู้ใช้แรงงานหญิง ผู้หญิงจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้หญิงชนเผ่า ผู้หญิงพิการ ผู้นำชุมชน นักจัดรายการวิทยุชุมชน องค์กรพัฒนาสตรีเอกชน ฯลฯ
สรุปข้อเสนอของผู้หญิงต่อพรรคการเมือง มีดังต่อไปนี้
1. การเร่งรัดโครงการด้านสังคมและเศรษฐกิจสำหรับเด็ก เยาวชน คนพิการ และผู้หญิงโดยเฉพาะ
1.1 การจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กสำหรับครอบครัวผู้ใช้แรงงานที่มีรายได้น้อยในทุกย่านอุตสาหกรรม
1.2 การเร่งรัดจัดการศึกษาฟรีแก่เด็กทุกคน ในระยะเร่งด่วนให้อุดหนุนทุนการศึกษาแก่เด็กที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (เน้นการให้ความเป็นธรรมกับเด็กในกรณีตากใบและกรณี ๒๘ เมษายน ๒๕๔๗) และเด็กจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย
1.3 การจัดระบบกระบวนการยุติธรรมที่ให้ความเป็นธรรมและการคุ้มครองแก่ผู้หญิงพิการที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง เช่น ถูกข่มขืน
1.4 การจัดบริการที่ให้ความช่วยเหลือแม่ที่มีลูกพิการหรือคนพิการที่มีลูกปกติ เพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้ เช่น ให้แม่ที่มีลูกพิการทางหูเรียนภาษามือ หรือ มีศูนย์สอนภาษาพูดให้เด็กที่เป็นลูกคนพิการทางหู
1.5 การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงและเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น พรบ. ขจัดความรุนแรงในครอบครัว เช่น บังคับใช้กฎหมายแบ่งโซนสถานบันเทิงเพื่อให้การคุ้มครองผู้เยาว์จากอบายมุขต่างๆ
1.6 ส่งเสริมความมั่นคงในอาชีพของผู้หญิงและผู้หญิงพิการ เช่น การฝึกอาชีพที่เหมาะสม การส่งเสริมการตลาด และการเข้าถึงทุน
2. การดำเนินการตามมาตรา 87 ในรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2550 ว่าด้วยการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย โดยคำนึงถึงสัดส่วนของหญิงและชายที่ใกล้เคียงกัน โดยเร่งดำเนินการในหน่วยงานและกลไกการแก้ไขปัญหาและพัฒนาต่างๆ ดังต่อไปนี้
2.1 กำหนดสัดส่วนหญิงชายในกรรมการไตรภาคีด้านแรงงาน
2.2 กำหนดสัดส่วนหรือการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในทุกกลไกของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายมาปฏิบัติ ทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะในกลไกเพื่อสร้างความสงบสุขของจังหวัดชายแดนภาคใต้
2.3 กำหนดสัดส่วนหญิงชายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.4 จัดตั้งสถาบันส่งเสริมพัฒนาทักษะในการเป็นผู้นำและทักษะทางการเมืองให้แก่ผู้หญิง
3. ส่งเสริมความเป็นธรรมในการจัดสรรงบประมาณของรัฐ โดย
3.1 การจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอต่อการดำเนินงานตามนโยบายในข้อ1. และการส่งเสริมงบประมาณแก่ภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านความเสมอภาคหญิงชาย
3.2 จัดตั้งกองทุนในบางกรณี เช่น กองทุนช่วยเหลือแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง กองทุนช่วยเหลือผู้หญิงที่ประสบความรุนแรงในครอบครัว กองทุนช่วยเหลือผู้ปกครองคนพิการทุกประเภทในการเลี้ยงดูบุตรพิการ
3.3 จัดตั้งกลไกที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ผลกระทบจากการจัดสรรงบประมาณต่อหญิงชายและกลุ่มที่หลากหลายในสังคม เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอายุ คนพิการ ฯลฯ
4. ประเด็นอื่นๆ
4.1 เร่งรัดการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองความปลอดภัยในสถานประกอบการ 4.2 ส่งเสริมการรวมกลุ่มของประชาชนและผู้ใช้