Unlimited Web HostingFree Wordpress ThemesDeposit Poker

ปีสึนามิ กับการฟื้นฟูชีวิตผู้หญิงและเด็ก : ความรุนแรง เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ธรรมดา

 

sunami-01

สืบเนื่องจากเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่ผ่านมา มูลนิธิผู้หญิงได้ร่วมกับอาสาสมัครผู้หญิงสำรวจสถานการณ์ปัญหาของผู้หญิงและเด็ก และพบว่า ความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาที่รุนแรงมากขึ้นหลังจากภัยสีนามิ 

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา มูลนิธิผู้หญิงได้ร่วมกับอาสาสมัครผู้หญิงให้ความช่วยเหลือผู้หญิงที่ประสบปัญหา เครือข่ายผู้ประสบภัย สมาชิกในชุมชนบ้านไอทีวี องค์กรแอคชั่นเอด ประเทศไทย และโครงการให้ความช่วยเหลือกฎหมายแก่ผู้ประสบภัย มูลนิธิเอเชีย จัดงาน  3ปีสึนามิ กับการฟื้นฟูชีวิตผู้หญิงและเด็ก : ความรุนแรง เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ธรรมดา   ขึ้น โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 200 คน 

ในงานประกอบด้วยเวทีเสวนา การแสดงละครจากเยาวชนจังหวัดต่าง ๆ และมอบรางวัลประกวดคำขวัญรณรงค์แก้ไขความขัดแย้งโดยสันติวิธี อาสาสมัครผู้หญิงได้ร่วมเสนอสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นในชุมชนและบทบาทของอาสาสมัคร ที่ผ่านมา 

ทิพา กล้าทะเล-  ได้เล่าให้ฟังว่า จากการทำงานในชุมชน พบว่า มีครอบครัวที่เริ่มมีการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ประมาณ 5 ครอบครัว และมี 1 ครอบครัวที่ผู้หญิงถูกทำร้ายร่างกายอย่างต่อเนื่อง และมีผลให้ลูกชายไม่ไปโรงเรียน ส่วนลูกสาวได้บอกกับแม่ว่า หากพ่อตีแม่ จะไม่โรงเรียน และปัจจุบันกรณีนี้อยู่ระหว่างการให้ความช่วยเหลือ โดยได้พาผู้หญิงไปรับความช่วยเหลือจากศูนย์พึ่งได้โรงพยาบาลตะกั่วป่า และบ้านพักเด็กและครอบครัวและอยู่ระหว่างการประสานงานกับเจ้าหน้าที่เพื่อทำข้อตกลงกับสามีมิให้ใช้ความรุนแรง นอกจากนี้ได้จัดกิจกรรมพูดคุยกับผู้หญิงในชุมชนเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวด้วย 

ณัฐวรรณ สุขแพทย์ – เล่าว่า เหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิ ส่งผลให้เกิดการใช้ความรุนแรงในครอบครัว คือ หลังจากที่ครอบครัวได้รับเงินช่วยเหลือและได้นำเงินไปกินเหล้าและเล่นพนัน และเกิดความขัดแย้งในครอบครัวครัวจนถึงขั้นผู้หญิงได้รับบาดเจ็บ และปัจจุบันครอบครัวดังกล่าวได้แยกทางกันทำให้เด็กถูกทอดทิ้งไว้กับญาติในชุมชน นอกจากนี้มีกรณีเด็กผู้ชายในชุมชนอายุ 10 ปี ซึ่งทราบว่า ณัฐวรรณเป็นอาสาสมัครของมูลนิธิผู้หญิงได้เขียนจดหมายมาขอความช่วยเหลือ เพราะถูกแม่เลี้ยงทำร้ายร่างกาย ซึ่งเธอได้ประสานกับมูลนิธิผู้หญิงเพื่อให้พ่อและแม่เลี้ยงมาทำข้อตกลงมิให้มีการใช้ความรุนแรงกับลูกอีก ปัจจุบันเด็กก็สามารถอยู่ในครอบครัวได้ ในงานดังกล่าวได้จัดให้มีการให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ความรู้ 

พ.ตท.จิระศักดิ์ เสียมศักดิ์ –  รองผู้กำกับ สภอ.ตะกั่วป่า ได้ยอมรับว่า ก่อนหน้าที่จะมีกฎหมายฉบับนี้ตำรวจมีความลำบากใจในการทำคดีแบบนี้ เพราะมีความยุ่งยาก และพนักงานสอบสวนส่วนหนึ่งไม่มีประสบการณ์ด้านครอบครัวจึงไม่มีทักษะในการไกล่เกลี่ยและอีกส่วนหนึ่งมองว่าเป็นเรื่องภายในครอบครัวซึ่งหากมีการดำเนินคดีก็จะทำให้มีคดีรกศาล การมีกฎหมายฉบับนี้จึงเป็นสิ่งที่ดีเพราะต้องมีการอบรมให้ความรู้แก่พนักงานสอบสวน และกฎหมายนี้ได้ให้ความคุ้มครองทุกคนในครอบครัวรวมถึงผู้รับใช้ในบ้านด้วย นอกจากนี้ยังระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่พบเห็นหรือทราบ ต้องแจ้งแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น ตำรวจ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 

คุณสุทธิพงษ์ จันทรวิโรจน์ –  ทนายความจากมูลนิธิเอเชีย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กฎหมายฉบับนี้มิได้มุ่งเน้นที่จะเอาผู้กระทำเข้าคุกหรือไปลงโทษ แต่มุ่งที่จะให้ผู้กระทำปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จะเห็นได้จากการที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ถูกกระทำสามารถยอมความได้ทุกขั้นตอนทั้งในชั้นพนักงานสอบสวน และชั้นศาล 

คุณจุฑามาศ หนูช่วย-  นักสังคมสงเคราะห์จากสำนักงานพัฒนาสังคมจังหวัดพังงา ได้ชี้ให้เห็นว่า กฎหมายฉบันนี้มีกระบวนการที่จะให้มีการบำบัดฟื้นฟูผู้กระทำ เช่น หากสาเหตุการกระทำความรุนแรงเกิดจากการดื่มเหล้า ก็จะส่งตัวผู้กระทำไปรับการบำบัดในหน่วยงานที่รับผิดชอบ และนอกจากนี้ยังมีบ้านพักเด็กและครอบครัวที่จัดไว้สำหรับผู้ถูกระทำที่ต้องการที่พักชั่วคราว 

คุณวรัญญา เกื้อนุ่น –  จากมูลนิธิผู้หญิง ได้กล่าว่า หากไม่มีแนวทางระดับชุมชนเพื่อป้องกันและแก้ไขความรุนแรงแล้ว กฎหมายฉบับนี้ก็จะไม่สามารถที่จะคุ้มครองผู้ถูกกระทำได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ชุมชนซึ่งรวมถึงองค์การบริหารส่วนตำบล จะต้องมีมาตรการต่างๆ โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้

  • – ให้เผยแพร่ข้อมูลหรือแนวทางการคุ้มครองตามกฎหมายแก่สมาชิกในชุมชนเพื่อที่จะส่งต่อข้อมูลเหล่านี้แก่ผู้หญิงที่กำลังประสบปัญหาได้
  • – จัดสวัสดิการแก่ผู้หญิงและเด็กที่ประสบปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
  • – จัดให้มีกลไกระกับชุมชนเพื่อติดตามพฤติกรรมของผู้กระทำเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำซ้ำ
  • – จัดความช่วยเหลือในด้านอาชีพ หรือ ให้เข้าถึงกองทุนต่างๆในชุมชน
  • – จัดให้มีการรณรงค์ให้สมาชิกในชุมชนเรียนรู้การคลี่คลายความขัดแย้งโดยไม่ใช้ความรุนแรง

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

Thai / English

บทความล่าสุด
ปฎิทินกิจกรรม
May 2023
M T W T F S S
« Sep    
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031