Unlimited Web HostingFree Wordpress ThemesDeposit Poker

เวทีผู้หญิงพบพรรคการเมือง: ความมั่นคงในชีวิตของผู้หญิงจะเกิดได้ ความเสมอภาคหญิงชายต้องเป็นวาระแห่งชาติ

เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ณ ห้องประกายเพชร โรงแรมเอเชีย เวลา ๙.๓๐ – ๑๒.๓๐ น. เครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าหน้าและสันติภาพร่วมกับ ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย จัดเวทีผู้หญิงพบพรรคการเมือง “รัฐกับการสร้างความมั่นคงในชีวิตของผู้หญิง วันนี้และวันหน้า” ผู้แทนพรรคการเมืองประกอบด้วย คุณอภิรัต ศิรินาวิน พรรคมหาชน คุณพรรณิการ์ วานิช พรรคอนาคตใหม่ นายต่วนอิสกันดาร์ ดาโต๊ะมูลียอ พราคประชาชาติ ดร.รัชดา ธนาดิเรก พรรคประชาธิปัตย์ คุณทัศน์ลักษณ์ ปัตตพงศ์ภัช พรรคชาติไทยพัฒนา คุณเอกวัฒน์ พิมพ์สวรรค์ พรรคสามัญชน ดำเนินรายการโดย ดร.ปิ่นหทัย หนูนวล กรรมการมูลนิธิผู้หญิง

ผู้แทนพรรคการเมืองขานรับข้อเสนอจากเครือข่ายผู้หญิงให้ความเสมอภาคหญิงชายเป็นวาระแห่งชาติ และจะนำข้อเสนอต่างๆ ไปเสนอต่อทางพรรค รวมถึงการผลักดันให้มีหน่วยงานอิสระหรือองค์กรมหาชนกำกับดูแลให้เกิดการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงสร้างความมั่นคงชีวิตของผู้หญิง ทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความเสมอภาคระหว่างเพศ ปรับเปลี่ยนทิศทางของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เป็นเครื่องมือพัฒนาศักยภาพ ปรับเปลี่ยนเจตคติและคุ้มครองสตรี ให้การศึกษาด้านความเสมอภาคและบทบาทของสื่อมวลชน
เวทีผู้หญิงพบพรรคการเมือง เริ่มด้วยเครือข่ายผู้หญิงนำเสนอผลกระทบจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการเมือง ผู้หญิงไทยจำนวนไม่น้อยที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการดำรงชีวิตขาดโอกาสและ เข้าไม่ถึงทรัพยากรและสวัสดิการต่างๆ ในขณะทีต้องแบกรับภาระเลี้ยงดูครอบครัวโดยลำพัง และเสี่ยงต่อการถูกกระทำความรุนแรงทั้งในครอบครัวและพื้นที่สาธารณะ สิ่งที่ผู้หญิงทุกภาคส่วนต้องการคือการมีชีวิตที่มั่นคงปลอดภัย มีศักดิ์ศรีและได้รับสิทธิต่างๆ ตามหลักการสิทธิมนุษยชน อันได้แก่ การสร้างหลักประกันความมั่นคงทางรายได้อย่างทั่วถึง สวัสดิการสังคม อาที สิทธิลาคลอด ศูนย์เด็กเล็กในชุมชนและที่ทำงาน เงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า และมีมาตรการพิเศษสำหรับผู้หญิงในสภาวะยากลำบาก การเข้าถึงและมีส่วนร่วมตัดสินใจในการจัดสรรทรัพยากรและการใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะเพื่ออยู่อาศัยและทำกิน การมีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยพรรคการเมืองจะต้องมีมาตรการพิเศษเพื่อให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมของผู้หญิงในการลงสมัครและดำรงตำแหน่งทางการเมืองในทุกระดับ การดำรงชีวิตที่ปราศจากความรุนแรงทุกรูปแบบทั้งในครอบครัวและพื้นที่สาธารณะ การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่มีความละเอียดอ่อนและเป็นมิตรต่อผู้หญิง และการเยียวยาผู้เสียหายที่ครอบคลุมและไม่ล่าช้า การปรับเปลี่ยนเจตคติในสังคมให้มีความตระหนักเรื่องความเสมอภาคหญิงชาย
จากการวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินด้านความเสมอภาคในประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศไทยที่ได้รับการจัดอันดับต้นๆ โดยเวทีเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ที่ได้จัดทำรายงานช่องว่างระหว่างหญิงชาย ประจำปีพ.ศ.๒๕๖๑ โดยศึกษา่ความก้าวหน้าของผู้หญิงในสี่ด้าน คือ การมีส่วนร่วมและโอกาสด้านเศรษฐกิจ การได้รับการศึกษา สุขภาพอนามัยและการอยู่รอด การเสริมสร้างพลังทางการเมือง พบว่า ประเทศไอซ์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่ได้อันดับ ๑ รัฐบาลจัดให้เรื่องความเสมอภาคหญิงชายเป็นวาระแห่งชาติ มีกฎหมายที่มีเนื้อหาทั้งการส่งเสริมโอกาสแก่ผู้หญิง และขจัดการเลือกปฏิบัติอันเกิดจากเพศภาวะ มีหน่วยงานกำกับดูแลได้แก่กระทรวงเพื่อความเสมอภาคหญิงชาย ทั้งกำกับด้านนโยบาย รับเรื่องร้องเรียน และศูนย์ศึกษาวิจัย โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนเพื่อดำเนินการด้านต่างๆ
สถานการณ์ในประเทศไทย จะพบว่ามีการดำเนินการคล้ายคลึงกัน เช่น มีการจัดตั้งกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว การออกพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ และจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาสตรี แม้กระนั้นก็ยังไม่มีความก้าวหน้าเท่าที่ควรในการขจัดการเลือกปฏิบัติอันเกิดจากเพศภาวะ ทั้งนี้เพราะหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องความเสมอภาคหญิงชายไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากขาดองค์ความรู้และทิศทางในการดำเนินงานเพื่อบรรลุภารกิจที่ได้รับมอบหมาย นอกจากนี้กองทุนเพื่อการพัฒนาสตรีก็มุ่งเน้นเพียงเรืองการให้ทุนทางอาชีพ แต่มิได้สนับสนุนการทำงานเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติ สร้างความเข้าใจเรื่องความเสมอภาคหญิงชาย และส่งเสริมให้ผู้หญิงสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรีในสังคมไทย สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้เสนอให้ปรับเปลี่ยนการดำเนินการของกองทุนพัฒนาสตรีที่ควรเป็นไปในลักษณะการต่อยอดจากการทำงานขององค์กรสตรีที่มีอยู่แล้ว เพื่อยกระดับศักยภาพของสตรีทุกกลุ่ม และคุ้มครองเยียวยาผู้ที่ประสบปัญหาละเมิดสิทธิ
เครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพและขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทยตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องทบทวนและปรับเปลี่ยนทั้งหน่วยงานที่ดูแลงานด้านความเสมอภาคหญิงชาย และพระราชบัญญัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเสมอภาคหญิงชาย และความมั่นคงในชีวิตของผู้หญิง จึงจัดทำข้อเสนอแนะต่อไปนี้ เพื่อกำหนดเป็นวาระการทำงานเรื่องความเสมอภาคหญิงชายของหน่วยงานต่างๆโดยเฉพาะพรรคการเมือง ข้อเสนอได้แก่ กำหนดให้ความเสมอภาคหญิงชายเป็นวาระแห่งชาติเพื่อให้หน่วยงานของรัฐและกลไกทุกภาคส่วนในสังคมมีปณิธานและให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนความเสมอภาคหญิงชายจัดตั้งหน่วยงานอิสระหรือองค์กรมหาชนเรื่องความเสมอภาคหญิงชาย โดยมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทบทวนและแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความเสมอภาคหญิงชาย โดยครอบคลุมทั้งเรื่องการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย และขจัดการเลือกปฏิบัติทั้งทางตรงและทางอ้อม การปรับเปลี่ยนทิศทางการดำเนินงานของกองทุนเพื่อการพัฒนาสตรีให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพ ปรับเปลี่ยนเจตคติและคุ้มครองสตรี โดยให้องค์กรสตรีมีบทบาทสำคัญในการดำเนินงาน
ทางพรรคการเมืองต่างๆได้แลกเปลี่ยนโดยนำเสนอนโยบายที่เกี่ยวข้องกับผู้หญัง ตั้งแต่การสร้างระบบเพื่อประกันให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมทางการเมือง การเพิ่มวันลาคลอด ศูนย์เด็กเล็ก สวัสดิการด้านการศึกษา สาธารณสุข จนถึงการแก้ไขกฎหมายทำแท้ง อายุขั้นต่ำในการแต่งงาน และรับปากว่าจะร่วมขับเคลื่อนกับภาคประชาสังคมเพื่อทำงานผลักดันวาระผู้หญิงร่วมกันต่อไป

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

Thai / English

บทความล่าสุด
ปฎิทินกิจกรรม
May 2023
M T W T F S S
« Sep    
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031