Unlimited Web HostingFree Wordpress ThemesDeposit Poker

เสียงผู้หญิงต่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่

con13ในระหว่างที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญกำลังดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญอย่างคร่ำเคร่ง เพื่อให้ทันเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) อยู่ในขณะนี้ พลเมืองผู้มีความตื่นตัวทางการเมืองย่อมต้องให้ความสนใจติดตามความเป็นไปต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด และผู้หญิงในฐานะประชากรกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศก็ได้จับจ้องมองดูความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในกฎหมายสูงสุดฉบับใหม่อย่างมิให้คลาดสายตา ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove) สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย โดยการสนับสนุนขององค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ (UN Women) ได้ร่วมกันจัดเวที เสียงผู้หญิงต่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยเชิญเครือข่ายสตรีจาก 5ภูมิภาค (ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกลุ่มสตรีจากจังหวัดชายแดนใต้) ร่วมกันพิจารณารัฐธรรมนูญรายมาตรา เมื่อวันที่ 27-28 มิถุนายน ที่ผ่านมา

 

Read More »

The Anti-Abuse Soundcheck

เนื่องจากปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรีที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมากถึงชั่วโมงละ 3 รายในปัจจุบัน มีสาเหตุหลักมาจากการที่หน่วยงานไม่สามารถเข้าช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที 

มูลนิธิผู้หญิง และ บริษัท เดนท์สุพลัส ได้เล็งเห็นถึงปัญหาตรงจุดนี้ จึงได้หาหนทางที่จะช่วยแก้ปัญหา อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วที่สุด ด้วยการรณรงค์ขอความร่วมมือจากทุกคนในสังคม ผ่านการนำเสนอแคมเปญ “The Anti-Abuse Soundcheck” เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความรุนแรงต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา พร้อมขอความร่วมมือจากทุกคนในสังคมให้ช่วยกันเป็นหูเป็นตาแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

จากแนวคิดหลักของแคมเปญนี้ ทางบริษัท เดนท์สุ พลัส ร่วมกับ โรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ ซินิเพล็ก นำช่วง Soundcheck (การเช็คระบบเสียงรอบทิศทาง) ก่อนการฉายภาพยนตร์ มาใช้ในการรณรงค์ โดยการเปลี่ยนเสียงที่เปิดรอบทิศทางให้กลายเป็น “เสียงที่เกิดจากความรุนแรง” เพื่อสื่อให้เห็นว่าแท้ที่จริงแล้วความรุนแรงต่างๆนั้นอยู่ใกล้ตัวเราแค่เอื้อมมือ แม้เราจะมองไม่เห็น แต่เราสามารถสังเกตได้ด้วยเสียง

ซึ่งแนวคิดนี้ ได้ถ่ายทอดความรู้สึกต่างๆ ผ่านเสียงในชีวิตจริง ให้ผู้ชมได้สัมผัส พร้อมขอความร่วมมือให้ช่วยกันเช็คเสียงที่เกิดจากความรุนแรงใกล้ตัว และบอกถึงช่องทางการติดต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบในกรณีที่พบเหตุเพื่อให้สามารถเข้าไปช่วยแก้ไขได้ทันท่วงที

 

ขอเชิญเข้าร่วมการสัมมนาเรื่อง ปฏิญญาอาเซียนเรื่องสิทธิมนุษยชนจะส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนผู้หญิงได้อย่างไร

event31-1-56

Activity Date:  Thu, 2013-01-31 09:00

ขอเชิญเข้าร่วมการสัมมนาเรื่อง 

ปฏิญญาอาเซียนเรื่องสิทธิมนุษยชนจะส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนผู้หญิงได้อย่างไร

วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๖ เวลา  ๙.๐๐ – ๑๕.๓๐ น.

ห้องประชุม โรงแรมวิคทรี พหลโยธินซอย ๓จัดโดย เครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพ 

Women’s Caucus Thailand

สนับสนุนโดย SEA Women’s Caucus,  UNwomen & CIDA

……………………………………………………… Read More »

งานรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง เนื่องในวันสิทธิมนุษยชน ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๕

 

10decem2555

มูลนิธิผู้หญิง ร่วมกับ เครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพ สมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ แอ๊คชันเอดส์ และองค์กรเครือข่าย จัดงานรณรงค์ยุติความรุนแรงในภาคใต้และความรุนแรงต่อผู้หญิง ณ สวนสันติชัยปราการ กรุงเทพมหานคร เนื่องในวันสิทธิมนุษยชน ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ และยังเป็นโอกาสระลึกถึงพี่สาว น้องสาวของเราที่กำลังเผชิญความรุนแรงทั้งทางร่างกาย จิตใจ และทางเพศไม่ว่าจะอยู่ในบ้านหรือนอกบ้าน โดยเฉพาะพี่น้องผู้หญิงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ดำรงชีวิตภายใต้ความหวาดกลัวจากความขัดแย้งทางอาวุธและได้สูญเสียผู้เป็นที่รักในครอบครัว ต้องประสบความยากลำบากในการดำรงอยู่ รวมทั้งตระหนักร่วมกันถึงผู้หญิงที่ได้ต่อสู้และสูญเสียชีวิตจากการพิทักษ์ปกป้องสิทธิและเสรีภาพในความเป็นมนุษย์ของตนและผู้อื่นนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ความรุนแรงต่อผู้หญิงไม่ว่าจะเกิดในพื้นที่ส่วนตัว หรือพื้นที่สาธารณะ ไม่ว่าจะกระทำโดยสมาชิกในครอบครัว บุคคลในสังคม เจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้ต่างลัทธิความเชื่อ ล้วนเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อความมั่นคงของชีวิต และเป็นอุปสรรคในการพัฒนาของผู้หญิง และการสร้างสังคมที่สันติสุข รวมทั้งละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้หญิงในการดำรงชีวิตที่มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ Read More »

สิทธิและบทบาทในกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้

 

woman02

ความรุนแรงในพื้นที่  3 จังหวัดชายแดนใต้ ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา กว่า 8 ปีมาแล้ว สร้างความสูญเสียมากมายมหาศาล มีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 5,000 คนบาดเจ็บกว่า 10,000 คน แนวทางเชื่อมประสานสันติภาพนับวันยิ่งมืดมิดไร้ทางออก ไร้แสงสว่าง กระนั้น ก็ยังมีเสียงเล็กๆในพื้นที่ เสียงผู้หญิงที่ต้องอยู่อยากลำบากเมื่อลูกชาย สามี พ่อ ล้วนตายจากไปและทิ้งภาระมากมายให้รับผิดชอบ 

เสียงประชาชนนับวันยิ่งส่งเสียงดัง คือ สันติภาพ และการมีส่วนร่วมเยียวยาแก้ไข เพราะปัญหายิ่งนับวันยิ่งทวีความซับซ้อน  โดยเฉพาะเรื่องการรับรู้ระหว่างกันยังมีปัญหามาก ความเข้าใจเชิงลึกยังมีต่อกันสูง  เหมือนคำถามที่ว่าวันนี้   "ทำไมต้องยิงครู ?"   Read More »

อาเซียน 2015 ผู้หญิงจะได้อะไร กลไกอาเซียนด้านสิทธิผู้หญิง จะเป็นความหวังได้หรือ?

 

logo_asean_charter

ความตื่นตัวในการมาถึงของประชาคมอาเซียน มีเพิ่มมากขึ้นในปีปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากการปรับเปลี่ยนระยะเวลาเปิดภาคเรียนของสถาบันการศึกษาไปจนถึงการจัดเวทีของหอการค้า นักลงทุน เพื่อเตรียมรับกับประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน แต่สำหรับชาวบ้านโดยทั่วไป ก็ยังไม่มีโอกาสรับรู้มากนักถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า รวมถึง การเปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่จะเกิดกับผู้หญิง จากอาเซียน 2015

แม้ว่าปัจจุบัน ตามกฎบัตรอาเซียน หรือ ASEAN CHARTER ซึ่งอาเซียนได้จัดทำขึ้น เป็นธรรมนูญรับรองอาเซียนให้เป็นองค์กรนิติบุคคล ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 จะได้ระบุอย่างแจ่มชัดให้การดำรงชีวิตที่ดีและสวัสดิการของประชาชนเป็นศูนย์กลางของกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน กฎบัตรอาเซียนนี้นับเป็นกฎหมายรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนอันประกอบด้วยแผนงานสามเสาหลัก คือการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม ในการกำหนดทิศทางความร่วมมือและการทำงานร่วมกันของประเทศภาคีสมาชิก Read More »

‘ผู้หญิง’เสนอตัวดับไฟใต้ วอนรัฐใส่ใจมุมวัฒนธรรม

 

e0b894e0b8b1e0b89ae0b984e0b89fe0b983e0b895e0b9891

สถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและกระจายเกิดผลกระทบไปยังผู้คนแทบทุกกลุ่ม ทั้งตำรวจ ทหาร อาสาสมัคร ครู นักเรียน ชาวบ้าน ฯลฯ โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงที่เป็นคนสำคัญของครอบครัว เนื่องจากผู้หญิงจำนวนมากในพื้นที่ต้องเป็นหม้ายเนื่องจากสามีเสียชีวิต และต้องผจญกับชะตากรรมที่ต้องดูแลครอบครัวเพียงลำพัง นอกจากนี้ยังมีอีกจำนวนมากที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บเอง

 มูลนิธิอ๊อกแฟมร่วมกับเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ และองค์กรภาคีเครือข่ายจัดเสวนา “สิทธิและบทบาทในกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้” เพื่อยื่นข้อเสนอหลักในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ โดยพัฒนาระบบกลไกให้เปิดโอกาสกับผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหาในทุกระดับ มียุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการ พร้อมงบประมาณสนับสนุนที่ชัดเจน Read More »

แฉชีวิตสาวไทย-เหยื่อค้ากาม

 

100_92

เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.  2552 ที่โรงแรมเอเชีย มูลนิธิผู้หญิงจัดสัมมนา "การกลับบ้านและสร้างชีวิตใหม่ ประเด็นท้าทายในการทำงานค้ามนุษย์" โดย น.ส.มัทนา เชตมี ผู้ประสานงานโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ กล่าวว่า มูลนิธิผู้หญิงได้รวบรวมข้อมูลผู้เสียหาย จากการค้ามนุษย์ข้ามชาติ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2550 – กุมภาพันธ์ 2552 พบผู้เสียหาย 130 ราย ส่วนใหญ่ อายุ 25 – 30 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษา 46 ราย อนุปริญญา 30 ราย เป็นผู้เสียหายกลับจากประเทศปลายทาง มากที่สุด คือ บาห์เรน ร้อยละ 40 อิตาลี ร้อยละ 19 และ ญี่ปุ่น ร้อยละ 12 

ทั้งนี้ ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จะถูกละเมิดสิทธิ ได้แก่ ถูกบังคับให้ทำศัลยกรรม ข่มขืน ทำร้าย ทำแท้ง บังคับให้เสพยาเสพติด ถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยถูกกระทำวิตถารทางเพศ ถูกดุด่า ปฏิบัติเยี่ยงทาส ถูกละเมิดสิทธิแรงงาน ผูกมัดด้วยหนี้สิน ค่าตอบแทนที่ไม่เป็นธรรม ปฏิเสธแขกไม่ได้ ผู้เสียหายที่กลับมาจะอยู่ในสภาพติดเหล้า ติดยา เจ็บป่วยจากโรคทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี เอดส์ เนื้องอก มะเร็ง สุดท้ายมีแต่ความเครียด ซึมเศร้า และการพยายามฆ่าตัวตาย

Read More »

24ปี”มูลนิธิผู้หญิง” ภารกิจสตรีไม่สิ้นสุด (ค้ามนุษย์)

bth_24ทำงานอย่างต่อเนื่องมา 24 ปี มูลนิธิผู้หญิงจัดงาน "24 ปี มูลนิธิผู้หญิงกับการเดินทางที่ยังไม่สิ้นสุด" เพื่อทบทวนผลงานที่ผ่านมาและภารกิจที่ต้องสานต่อไป

งานจัดที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า มีกิจกรรมมากมาย เช่น การเสวนา การจัดนิทรรศการศิลปะผลงานศิลปินหญิง การฉายภาพยนตร์ "อำแดงเหมือนกับนายริด" ที่สะท้อนการต่อสู้ของผู้หญิงในอดีต

นางศิริพร สะโครบาเน็ค ประธานมูลนิธิผู้หญิง กล่าวเปิดงานว่า 24 ปีที่ผ่านมา การทำงานกับผู้หญิงของไทยนั้นยาก เพราะยังมีปัญหาในเรื่องของทัศนคติ เหมือนว่าผู้หญิงไทยนั้นทันสมัย แต่จริงๆ แล้วยังยึดติดมากในความแบบเก่าๆ แบบดั้งเดิม ซึ่งการทำงานเรื่องผู้หญิงจะต้องออกมาจากกรอบเดิม จะต้องพัฒนาทั้งระบบ ทั้งโครงสร้าง ความคิด ความเชื่อ จึงทำให้งานของมูลนิธิเป็นเรื่องลำบาก Read More »

เสียงสะท้อนหญิงกลับจากต่างแดน

 

fly

มูลนิธิผู้หญิง องค์กรพัฒนาเอกชนที่ให้ความช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กที่ประสบปัญหาความรุนแรง จัดกิจกรรมพบปะเยียวยาผู้หญิงที่กลับจากต่างแดนเป็นครั้งที่ 3 โดยรวบรวมข้อมูลที่เป็นเสียงสะท้อนของผู้หญิง โดยเฉพาะผู้หญิงที่ประสบปัญหาจากต่างแดน เพื่อให้ได้รับทราบและเข้าถึง ความช่วยเหลือต่างๆ

"ตอนเดินทางไป เหมือนกล่องหัวใจสีแดง เป็นที่รวมใจทุกดวงของครอบครัวไว้ แต่พอกลับมากล่องดวงใจบอบช้ำ เปลี่ยนเป็นสีดำ ซึ่งไม่มีวันที่จะกลับมาเป็นสีแดงอีกแล้ว" หญิงกลับจากมาเลเซีย อายุ 24 ปี กล่าว 

"เหมือนนกไปไหนก็ได้ตามใจของมัน พอรู้ว่าจะได้ไปทำงานต่างประเทศ ก็คิดว่าตัวเองจะบินไปสูงๆ แต่พอไปแล้วกลับมา กลายเป็นนกที่บาดเจ็บ ต้องใช้เวลารักษา ไม่รู้ว่านานแค่ไหนถึงจะหายเป็นปกติ" หญิงกลับจากอิตาลีวัย 42 ปี  Read More »

Thai / English

บทความล่าสุด
ปฎิทินกิจกรรม
May 2023
M T W T F S S
« Sep    
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031